AI เปลี่ยนโลก

15 กุมภาพันธ์ 2018

สรานี สงวนเรือง (เฟื่องลดา)
สรานี สงวนเรือง (เฟื่องลดา)พิธีกร และผู้ประกาศข่าว ที่มากความสามารถ ด้วยบุคลิกที่สวยใสมีเสน่ห์ และมากความสามารถในเรื่องการสื่อสารและไอที จนได้รับฉายาว่าเป็นนางฟ้าแห่งวงการไอที

AI : สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่อาจทำลายล้างมนุษย์ ?

“หุ่นยนต์จะมาทำลายล้างโลก”

“หุ่นยนต์จะมาแย่งงานคน”

“หุ่นยนต์จะครองโลก.. คนจะตกเป็นทาสของสิ่งประดิษฐ์ของเผ่าพันธุ์เราเอง”

เป็นเวลานานพอควรที่เราเห็นซีรีส์หรือภาพยนตร์หลายๆเรื่องสะท้อนความกลัวของมนุษย์ต่อเทคโนโลยีที่นับวันจะยิ่งก้าวหน้านวัตกรรมสุดล้ำที่เข้ามาแทรกซึมและเปลี่ยนวิถีชีวิตเดิม ๆ ของเราไปอย่างสิ้นเชิง

ดูเผินๆควรเป็นเรื่องน่ายินดีเผ่าพันธุ์มนุษย์สุดชาญฉลาดอย่างเราสามารถประดิษฐ์อะไรต่อมิอะไรมาทำให้ทุกอย่างง่ายแค่ปลายนิ้ว

ใช่ค่ะ.. เฟื่องเป็นคนนึงที่เชื่อและหลงในเสน่ห์ของเทคโนโลยีเทคโนโลยีทำให้ชีวิตเราง่ายสะดวกสบายขึ้นจริงๆในฐานะเด็กผู้หญิงคนนึงที่ได้เข้ามาคลุกคลีกับวงการนี้อย่างเต็มตัวในช่วงที่เรื่องไอทีกำลังเปลี่ยนผ่านจากการเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มความสนใจ (Niche) ไปเป็นเรื่องของทุกคน (Mass) พอดิบพอดีคงปฏิเสธความมหัศจรรย์ที่มันมาสร้างความหวือหวาตื่นเต้นให้กับชีวิตพวกเราได้ยาก

ทุกอย่างดูจะไปได้สวยเว้นเสียแต่ว่าอัตราการเติบโตของเทคโนโลยีในช่วง 15-20 ปีให้หลังมานี้เป็นกราฟพุ่งกระโดดอย่างเห็นได้ชัดเป็นเพราะเมื่อเทคโนโลยีที่มนุษย์ใช้เวลาคิดค้นทดลองเกิดสำเร็จขึ้นมาในเวลาใกล้เคียงกันจึงช่วยส่งเสริมต่อยอดกันและกันและยิ่งเวลาผ่านไปอัตราการเติบโตยิ่งเร่งทวีคูณจนกลายเป็นสิ่งที่มนุษย์กลัวเพราะมันอาจอยู่เหนือการควบคุมและมันกำลังจะน่ากลัวขึ้นไปอีกเพราะ AI (Artificial Intelligence)

ก่อนหน้านี้มนุษย์มีความกลัวมาเรื่อยๆตั้งแต่การมาของ ไฟฟ้า รถยนต์ อินเทอร์เน็ต เฟสบุ๊ก สมาร์ทโฟน ฯลฯ แต่ทุกครั้งความกลัวก็ยังห่างไกลเพราะสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเหล่านี้เมื่อมาเทียบกับการทำงานของคนยังไงก็ไม่สามารถเทียบชั้นกันได้เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาดที่ยังไงก็เป็นได้เพียงเครื่องทุ่นแรงไม่ได้สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนแม่บ้านที่ปัดกวาดเช็ดถูได้ทุกซอกมุมมากกว่า (หุ่นยนต์ทำความสะอาดทุกวันนี้ยังพยายามแข่งกันไต่ข้ามสิ่งกีดขวางกันอยู่เลยว่าใครข้ามได้สูงกว่า)

จุดต่างสำคัญคือมนุษย์มีอำนาจเสรีในการคิดและกำหนดการกระทำของตัวเองพูดให้เข้าใจง่ายๆคือมีหัวใจมีจิตใต้สำนึกนั่นแหละค่ะ

มนุษย์นำหุ่นยนต์แบบไม่ทิ้งฝุ่นจนกระทั่งมีนาคม 2016.. แมตช์หยุดโลกระหว่าง AlphaGo และ Lee Sedol ทำให้ความหวาดผวาของมนุษย์เกิดขึ้นจริง

กีฬาโกะ (หมากล้อม) เป็นสิ่งที่ผู้เล่นรู้กันดีว่าเป็นศาสตร์และศิลป์สุดแสนจะซับซ้อนวิธีที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ได้มีหลากหลาย Pattern ความน่าจะเป็นมีเป็นหลายสิบล้านแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่หุ่นยนต์จะมาเอาชนะมนุษย์ที่สั่งสมประสบการณ์ฝึกฝนถ่ายทอดกลยุทธ์กันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี.. แต่แล้ว AlphaGo ก็เอาชนะแชมป์โลกได้จริงๆแถมมีก้าวเดินของหมากหลายครั้งที่เบิกเนตรมนุษย์ว่าหมากที่มนุษย์สอนกันมาว่าเป็นก้าวที่ผิดห้ามเดินก็สามารถสร้างความเชื่อมโยงบางอย่างที่นำเราไปสู่ชัยชนะได้แมตช์นี้จึงคล้ายเป็นศึกระหว่างเผ่าพันธุ์มนุษย์และหุ่นยนต์ที่สุดท้ายเราก็แพ้อย่างราบคาบและแพ้อย่างต่อเนื่อง

ชัยชนะนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของหุ่นยนต์ที่พัฒนาไปอีกขั้นสามารถเรียนรู้ชุดข้อมูลมหาศาลคิดประมวลผลและสอนตัวเองไปเรื่อยๆจากข้อผิดพลาดจนได้ข้อสรุปที่เหนือไปกว่าขีดความสามารถของมนุษย์

แล้วลองคิดดูสิคะยุคนี้ที่เรามี Big Data ขนาดมหึมาที่เก็บทุกพฤติกรรมการใช้งานของมนุษย์ไว้ตั้งแต่วันสำคัญของชีวิตอารมณ์ความรู้สึกสถานะทางสังคมความชอบส่วนบุคคลซึ่งคนเก็บข้อมูลก็ไม่ใช่ใครที่ไหนเลยหากแต่เป็นพวกเราที่ให้ข้อมูลเหล่านี้ไปแบบรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้างผ่านแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook / Google / Amazon / Alibaba ฯลฯหรือแม้แต่ทุกการเคลื่อนไหวบนอินเทอร์เน็ตของเราเอา AI ที่ฉลาดขนาดนี้ไปตะลุยเรียนและย่อยข้อมูลมหาศาลทั้งหมดนี้ได้ความรู้ใหม่เขย่าโลกแน่นอนค่ะ

พูดแล้วอาจดูน่ากลัวแต่การเอา AI มาใช้นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่นะคะหากแต่ AI เข้ามาแทรกซึมในชีวิตเราอยู่แล้วโดยส่วนมากแบบที่เราไม่ได้สังเกตเลยเช่นเฟสบุ๊กแท็กหน้าเพื่อนเราได้เลยการเลือกโฆษณามาแสดงผลตามความสนใจหรือแม้กระทั่งSiri

ดังนั้นมุมมองของเฟื่องAI เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นและจะสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับมวลมนุษยชาติ (อย่างน้อยๆก็ในเวลาอันใกล้นี้) เพราะ Big Data ที่เรามีนั้นจะไร้ประโยชน์หากไม่ได้รับการตีความเพื่อนำไปใช้และด้วยกำลังของมนุษย์ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะจัดการกับข้อมูลที่นับวันก็จะยิ่งอ้วนขึ้นๆ เหล่านี้ทัน

AI จะเข้ามาช่วยลดความเหนื่อยของมนุษย์ในเรื่องง่ายๆที่บางทีปล่อยให้มนุษย์เอาสมองและแรงกายของเราไปทำเรื่องอื่นอาจดีกว่าเช่นรถยนต์ไร้คนขับที่ใช้ AI จะทำให้มนุษย์สามารถนั่งรถได้แบบสะดวกสบายไม่หัวเสียกับรถติดหรือต้องคอยคิดเส้นทาง.. หลายคนอาจห่วงความปลอดภัยแต่ลองคิดแบบนี้ดูค่ะส่วนมากมนุษย์เรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเองมนุษย์ที่พึ่งขับรถจึงต้องอาศัยประสบการณ์กว่าจะขับได้ชำนาญแต่ AI สามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดของรถคันอื่นๆได้ด้วยดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพลาดหรือเกิดอุบัติเหตุก่อนจึงค่อยเรียนรู้น่าจะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้พอควรเลยค่ะ (ตอนนี้อาจยังไม่สมบูรณ์พร้อมขับแต่กว่าจะถึงวันนั้นที่บริษัทอย่าง Google / Tesla หรือ Apple จะปล่อยรถออกมาพร้อมวิ่งจริงการวิจัยและทดลองอย่างเข้มข้นนี้น่าจะทำให้รถยนต์ไร้คนขับเก่งขึ้นมากแล้วค่ะ)

อย่างไรก็ตามเหรียญย่อมมีสองด้านความน่ากลัวอยู่ตรงที่หากมีคนไม่ประสงค์ดีเอา AI ไปใช้ในด้านมืดความเก่งเหนือมนุษย์นี้อาจมีพลังทำลายล้างสูงยากเกินมนุษย์จะรับมือได้หรือความฉลาดคิดแทนคนได้เกือบทุกอย่างนี้อาจสร้างนิสัยความเคยชินครอบงำเราทำให้เราตกเป็นทาสและถูกพรากอิสระทางความคิดไปทีละน้อย

และมนุษย์อาจตกเป็นทาสของหุ่นยนต์เราเป็นเพียงแขนขาและร่างกายของระบบประสาทสมองกล

ความน่ากลัวมีแต่ความหวังยังมีเช่นกันว่าหากมนุษย์ร่วมมือกันค่อยๆเติบโตเรียนรู้เทคโนโลยีไปพร้อมๆกันและเลือกใช้มันอย่างสันติเราจะยังสามารถหยุดสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาได้.. อาจคล้ายกับการค้นพบระเบิดปรมาณูที่สุดท้ายแล้วเมื่อเราหยุดทันและวางมันไว้วิทยาศาสตร์ก็ไม่อาจทำร้ายมนุษย์ได้จนเกินไป

บทความที่เกี่ยวข้อง