9 แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ในปี 2021 บทวิเคราะห์จาก Gartner

28 พฤศจิกายน 2020

NT cyfence
NT cyfenceทีมงาน NT cyfence ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดูแลความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร อย่างครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ

ใกล้จะถึงสิ้นปี 2020 แล้ว จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ด้วยสถานการณ์โรคไวรัสระบาด COVID-19 ที่บังคับให้เราต้องเข้าสู่วิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบ New normal ซึ่งบางส่วนก็นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนไปเลย และด้วยการปรับตัวของมนุษย์ในครั้งนี้ ทำให้ช่วยเสริมให้มีการสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ ณ ตอนนี้ โดยเทคโนโลยีบางตัวก็จะได้รับการสนับสนุนจาก องค์กรภาครัฐ เอกชน และธุรกิจต่าง ๆ อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้ต่อในปี 2021 ด้วย

Gartner  บริษัทวิจัยและผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีที่จะมีผลจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั่วโลก โดย Gartner วิเคราะห์ว่า จะมี  9 แนวโน้มกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงในปี 2021 ข้างหน้านี้ ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

  • Internet of Behavior (IoB)
  • Total Experience
  • ระบบคลาวด์แบบกระจายคืออนาคตของ Cloud
  • Anywhere operations
  • Cybersecurity Mesh
  • Intelligent composable business
  • ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
  • Hyperautomation

โดยรายละเอียดในแต่ละเทรนด์มีดังต่อไปนี้

1. Internet of Behavior (IoB)

ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน การใช้ Internet of Behavior (IoB) เข้ามาช่วยก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจาก Internet of Behavior (IoB) จะเป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แห่งมาผสมผสานเทคโนโลยีหลายแบบเข้าด้วยกัน จุดประสงค์เพื่อใช้ในการติดตามตำแหน่ง จดจำใบหน้า ตรวจจับพฤติกรรม เช่น ติดตามพนักงานให้ปฏิบัติตามกฏบริษัท หรือ เฝ้าระวังด้านสุขภาพของพนักงานในช่วงการแพร่ระบาดไวรัส ซึ่งการมีเทคโนโลยีแบบนี้ก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย สำหรับข้อเสียข้อใหญ่นั่นก็คือ อาจจะขัดต่อหลักจริยธรรมได้ เนื่องจากสามารถละเมิดความเป็นส่วนตัวของคนอื่น ไม่แน่ว่าปี 2021 อาจจะมีการปรับปรุงพัฒนา เพื่อทำให้สามารถนำมาใช้งานได้ตามขอบเขตข้อกฏหมายที่กำหนดในแต่ละประเทศนั้น ๆ ก็ได้

2. Total Experience

เป็นการผสมผสานประสบการณ์ทั้งหมดตั้งแต่พนักงาน ผู้บริหาร ลูกค้า เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทางผลลัพธ์ธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น เพราะในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา มีผลกระทบที่ทำให้ขาดรายได้ ขาดช่องทางในการขาย ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้โดยตรง สิ่งนี้เองที่จะทำให้องค์กร นำมาปรับใช้ในการดำเนินการธุรกิจ ให้สามารถฟื้นฟูและกลับมายืนต่อได้ โดยอาจจะต้องใช้เทคโนโลยีหรือระบบไอทีใด ๆ เข้ามาช่วยนั่นเอง

3. Privacy-Enhancing Computation

การป้องกันข้อมูลที่ถูกเก็บไว้แล้วจะไม่เพียงพออีกต่อไป องค์กรต้องหาทางปกป้องข้อมูลที่กำลังถูกประมวลผลด้วย และภายในปี 2025 บริษัทใหญ่เกินครึ่งจะต้องเพิ่มความสามารถ เพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าเชื่อถือและมีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนแบบให้มีทั้งเรื่อง Privacy และ Security

4. ระบบคลาวด์แบบกระจายคืออนาคตของ Cloud

ระบบคลาวด์แบบกระจายคือ บริการคลาวด์ที่กระจายไปยังสถานที่ตั้งที่แตกต่างกันไป แต่การดำเนินการ และการกำกับดูแลรวมถึงการพัฒนา ยังคงเป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ ระบบคลาวด์จะทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุน ลดความซับซ้อน และช่วยรองรับกฎหมายที่กำหนดให้ การเก็บข้อมูลบนคลาวด์จะต้องอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง

5. การทำงานที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่จริง ๆ ( Anywhere operations )

จากเหตุการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมาทำให้หลายองค์กรมีการปรับตัว และวางรูปแบบการดำเนินงานที่สามารถให้บุคลากรสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ จากการใช้ IT infrastructure ที่เริ่มตั้งแต่การวางแผนโครงสร้างด้านไอทีที่มั่นคง เพราะรูปแบบการทำงานที่ไหนก็ได้เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้า และผู้ร่วมงานในพื้นที่ที่ห่างไกลได้ง่าย

รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงที่ดีคือ ดิจิทัลระยะไกล เช่น ธนาคารที่ให้บริการแบบดิจิทัลโดยจัดการทุกอย่างตั้งแต่การโอนเงินไปจนถึงการเปิดบัญชีแบบดิจิทัล เป็นต้น

6. Cybersecurity mesh

คือหลักการที่ว่า อนุญาตให้ใครก็ตามสามารถเข้าถึงทรัพย์สินต่าง ๆ ขององค์กร เช่น ข้อมูล เอกสาร หรืออุปกรณ์ไอที เป็นต้น ได้อย่างปลอดภัย ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงทรัพย์สินทางดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยที่ทรัพย์สินจำนวนมากที่อยู่ภายนอกเขตรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมที่ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตจะสามารถกำหนดขอบเขตความปลอดภัยได้

7. Intelligent composable business

ธุรกิจที่ชาญฉลาดคือ ธุรกิจที่สามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ที่เร่งกลยุทธ์ทางธุรกิจดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีความคล่องตัวและการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องเปิดใช้งานการเข้าถึงข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว

8. วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์

กลยุทธ์ทางวิศวกรรม AI ที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มความสามารถในการตีความและความน่าเชื่อถือของโมเดล AI และมอบคุณค่าของการลงทุน AI อย่างเต็มที่ โครงการ AI มักประสบปัญหาเกี่ยวกับการบำรุงรักษา การปรับขนาดและการกำกับดูแลซึ่งทำให้เป็นความท้าทายสำหรับองค์กรส่วนใหญ่

วิศวกรรม AI นำเสนอเส้นทางทำให้ AI เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ DevOps แทนที่จะเป็นโครงการเฉพาะและแยกต่างหาก เป็นการรวบรวมสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือ

9. Hyperautomation ระบบอัตโนมัติที่เพิ่มมากขึ้น

Hyperautomation คือ แนวคิดที่ว่าทุกอย่างในองค์กรถ้าสามารถทำให้เป็นอัตโนมัติได้ ควรจะทำให้มันเป็นอัตโนมัติ เป็นการใช้ Big Data และพัฒนา AI อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อให้ได้ ประสิทธิภาพประสิทธิผลและความคล่องตัวทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น องค์กรไหนที่ยังไม่เน้นเรื่องดังกล่าวจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลังในที่สุด

ปี 2020 ที่กำลังจะผ่านไป มีเรื่องต่าง ๆ มากมาย แผนกลยุทธ์ที่วางไว้ปีที่แล้วแทบไม่สามารถนำมาใช้ได้ หลัก ๆ คงเป็นเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสบนโลกจริง แต่ธุรกิจยังต้องดำเนินต่อไปการคาดการณ์เป็นสิ่งจำเป็น แต่สิ่งที่ควรคิดควบคู่ไปด้วยคือเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศ เพราะทิศทางที่วางแผนไว้ความปลอดภัยควรมีควบคู่ไปด้วยเช่นกัน สำหรับองค์กรที่ต้องการวางแผนด้านความปลอดภัย สามารถให้ทีมงาน NT cyfence เป็นที่ปรึกษาได้ เรื่องความปลอดภัยทีมงานพร้อมดูแลด้านความปลอดภัยให้เอง

บทความที่เกี่ยวข้อง