เว็บล่ม เว็บโดนแฮก สาเหตุเกิดจากอะไร มีเครื่องมือคอยเฝ้าระวังหรือไม่

26 มกราคม 2022

ณิชาภา อยู่ผ่องภา
ณิชาภา อยู่ผ่องภาContent Writer ผู้แปล จัดทำ ข่าวด้านไอที บทความ Cyber Security และเป็นหนึ่งในทีมงาน cyfence ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

เซิร์ฟเวอร์ล่ม หรือเว็บไซต์ Down บ่อยครั้งไม่ใช่แค่ Server หยุดทำงานเพราะความผิดพลาดเพียงอย่างเดียว อาจมาจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งภัยทางไซเบอร์นั้น ณ ปัจจุบันก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในความเป็นจริงเราไม่อาจทราบได้เลยว่าจะเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นเมื่อไหร่ และโจมตีมาจากที่ไหน กว่าจะรู้ว่าเว็บไซต์ล่ม หรือถูกโจมตี เปลี่ยนแปลงหน้าเว็บ ก็ตกเป็นข่าวและเกิดความเสียหายจนแก้ไขได้ยาก ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือให้บริการประชาชน เช่น สถาบันการเงิน หน่วยงานราชการ รัฐวิสหากิจ บริษัทเอกชน รวมไปถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มี Platform online ต่างตกเป็นเป้าหมายสำคัญของแฮกเกอร์ในการสร้างชื่อเสียงของตนเอง ในเบื้องต้น การที่เว็บล่มนั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น

  1. มีคนเข้าใช้งานมากเกินความสามารถของ Server และ Application
  2. โดน Hack หน้าเว็บ Redirect ไปเว็บอื่นของแฮกเกอร์ จนไม่สามารถให้บริการได้
  3. โดนเปลี่ยน code เว็บ ใน Server เพื่อให้แสดงผลผิดพลาด
  4. โดน DDoS Attack
  5. เว็บเข้าได้ แต่โดนแฮกเกอร์เปลี่ยนหน้าเว็บ

ซึ่งสาเหตุบางอย่างนั้น สามารถป้องกันได้ แต่ก็อาจเกิดขึ้นโดยที่ทีมงานที่ดูแลไม่รู้ตัวได้เช่นกัน

หากโดนแฮกเกอร์โจมตีหรือแฮกเว็บไซต์ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

  1. ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่มีความน่าเชื่อถือสูง
  2. คู่ค้าหรือลูกค้าจะไม่สามารถเข้าใช้งานระบบผ่าน Web Application ทำให้สูญเสียรายได
  3. และอาจส่งผลไปยังรายได้จากการ ยกเลิกการใช้บริการ จนถึงขั้นสูญเสียฐานข้อมูลสำคัญต่าง ๆ
  4. มีความเสี่ยงข้อมูลสำคัญภายในรั่วไหล ในกรณีนี้แฮกเกอร์อาจใช้มัลแวร์ประเภทอื่นเข้ามาช่วยในการขโมยข้อมูล (Spyware) และเรียกค่าไถ่ ( Ransomware) จากช่องโหว่ของเว็บเดิมที่มี
  5. รู้ว่าโดนแฮกเปลี่ยนหน้าเว็บช้า จนเกิดผลเสียยาวนานยิ่งขึ้น

แฮกเกอร์ใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการโจมตี

ซึ่งภัยคุกคามด้านเว็บไซต์ที่เราพบเห็นได้บ่อยคือ Web Application Hacking และ DDoS Attack โดยทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นภัยไซเบอร์ที่แฮกเกอร์ใช้โจมตีมากที่สุด อธิบายลักษณะได้ดังนี้

  1. Web Application Hacking 

ภัยจากแฮกเกอร์ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์ให้ไม่สามารถใช้งานได้ จุดประสงค์เพื่อการก่อกวน สร้างความสนุก หรือแอบเข้ามาฝังตัวเพื่อล้วงข้อมูลสำคัญ ตัวอย่างเช่น ข่าว แฮกเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ชื่อว่า Kangaroo Court  

  1. DDoS Attack

แฮกเกอร์จะใช้ Botnet โจมตีเซิร์ฟเวอร์ของเหยื่อให้ทำงานช้าลงเรื่อย ๆ จนหยุดการทำงานไปในที่สุด ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานที่กำลังเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์นั้น จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ต่อได้อีก เช่น ข่าว เว็บไซต์ไปรษณีย์และธนาคารหลายแห่งในนิวซีแลนด์ล่ม หลังถูกโจมตีด้วย DDoS Attack

จากภัยไซเบอร์ที่กล่าวมานั้น นับได้ว่าทุกขนาดของธุรกิจ ทั้งบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ จะต้องให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตี ดังนั้น จึงควรมีระบบไอทีและอุปกรณ์ป้องกันที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงอบรมพนักงานให้ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อยู่เสมอ เพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือในกรณีถูกโจมตีและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามถึงแม้ระบบและบุคลากรจะพร้อมรับมือกับภัยต่างๆได้หลายรูปแบบ 

แต่ไม่อาจมั่นใจได้ว่าจะปลอดภัย 100% เพราะแฮกเกอร์จะพัฒนาและหาวิธีเพื่อเข้าโจมตีอยู่เสมอการมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้คำปรึกษา ตรวจสอบสถานะของเว็บไซต์ ให้กับองค์กรก็จะช่วยลดความเสี่ยงการถูกโจมตีเว็บไซต์ที่อาจจะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ

สำหรับบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้าตรวจสอบสถานะความปลอดภัยเว็บไซต์ NT cyfence เรามีบริการ Web monitoring ที่ให้บริการเฝ้าระวังเว็บไซต์แบบ Real-time ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ใช้บริการไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์หรือซอฟแวร์ใดๆ ในระบบหรือเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์เพียงแค่อนุญาตให้ระบบ Web Monitoring สามารถเข้าไปยังในเว็บไซต์ของผู้ใช้บริการผ่านทาง Internet เท่านั้น จากนั้นระบบจะคอยตรวจจับพร้อมแจ้งเตือนทันทีหากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริการ Web Monitoring  

สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่เปิดการใช้บริการภายใน 30 มิ.ย. 2565 นี้ จะได้รับโปรโมชันลดสูงสุด 30%  ทันที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  NT Contact Center 1888 และ E-mail ได้ที่ https://www.cyfence.com/contact-us/

ที่มา: https://www.mmthailand.com/ddos-attacks/ 

บทความที่เกี่ยวข้อง