NT cyfence ชู 6 ด้าน บริการ “รักษาความปลอดภัยไซเบอร์” สร้างความแข็งแกร่ง Cybersecurity ให้องค์กร

3 พฤศจิกายน 2023

NT cyfence
NT cyfenceทีมงาน NT cyfence ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดูแลความปลอดภัยให้กับทุกองค์กร อย่างครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ

นอกจากการมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ จะเป็นความท้าทายของแบรนด์ในยุคนี้แล้ว การรักษาความปลอดภัยจากอาชญากรไซเบอร์ก็เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในปัจจุบันต้องวางกลยุทธ์ในการรับมือด้วยเช่นกัน โดยที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า การโจมตีออนไลน์ได้เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ – หลายช่องทาง และหลาย ๆ ครั้งก็เกิดโดยที่แบรนด์ไม่ทันตั้งตัว

ทั้งนี้ หนึ่งในภัยไซเบอร์ที่ต้องจับตามาจากการใช้ AI โดยงานวิจัยจาก Salesforce ระบุว่า ผู้บริหารอาวุโสฝ่ายไอที ร้อยละ 71 เชื่อว่า AI จะนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ  หรือในมุมของ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)  ก็ออกมาเตือนให้ทุกคนเตรียมรับมือกับอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โจมตีองค์กรด้วยเช่นกัน 

แน่นอนว่า การโจมตีเหล่านั้นนำไปสู่การใช้จ่ายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่เพิ่มขึ้น โดยผลการสำรวจของ Gartner พบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาความปลอดภัย และบริหารความเสี่ยงของผู้ใช้งานทั่วโลกมีแนวโน้มจะแตะ 2.15 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 เพิ่มขึ้น 14.3% จากปี 2023 ที่คาดว่าจะมีมูลค่า 1.88 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (Source : Gartner Forecasts Global Security and Risk Management Spending to Grow 14% in 2024)

อย่างไรก็ดี เมื่อหันมาพิจารณาประเทศไทย มีผลสำรวจจากพาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ พบข่าวดีที่ว่า องค์กรในไทยเผชิญสถานการณ์การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนักในปริมาณน้อยที่สุด (22%) เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน  (Source : ส่องภาพรวม ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ไทย พบ “โทรคมนาคม” ลงทุน AI เพิ่มรับภัยคุกคาม – Brand Buffet) พร้อมเหตุผลว่า ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมต่าง ๆ ของไทย รวมถึงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบเครือข่ายนั่นเอง โดยหนึ่งในแบรนด์ที่มีการลงทุน และขยายศักยภาพการให้บริการก็คือ NT หรือบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ที่ล่าสุดกำลัง

จะเพิ่มศักยภาพในการให้บริการโดยการขยาย ศูนย์ Cybersecurity Operation Center หรือ CSOC ในเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ เพื่อรับมือกับเทรนด์การป้องกันภัยไซเบอร์ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น

ย้อนอดีต NT cyfence ผู้รับมือภัยไซเบอร์ผ่านศูนย์ Cybersecurity Monitoring เจ้าแรก ที่ได้มาตรฐาน ISO 27001

แต่หากย้อนไปในอดีต จะพบว่า NT (CAT ในขณะนั้น) มีการให้บริการในส่วนการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ผ่านทางศูนย์ CSOC (หรือ SOC ในขณะนั้น) มาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งต้องยอมรับว่าในยุคนั้น การให้บริการในลักษณะดังกล่าวยังมีน้อยมาก และสะท้อนว่า NT เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เล็งเห็นความสำคัญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ตั้งแต่เริ่มแรกของการก้าวสู่ยุคอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยก็ไม่ผิดนัก

และยังเป็นศูนย์ CSOC แห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 27001 อีกด้วย 

และเมื่อ วันที่ 7 มกราคม 2564 CAT ได้ควบรวมกับ TOT เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อ NT ทางแบรนด์เองจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น NT cyfence อย่างเป็นทางการในปีเดียวกัน

คุณกัณณิกา วรคามิน ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจความปลอดภัยไซเบอร์ (NT cyfence) บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT กล่าวว่า

“ภัยคุกคามไซเบอร์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง อีกทั้งการเข้ามาของกระแสการใช้ AI ในด้านต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่การนำมาใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ NT cyfence เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านไซเบอร์มากว่า 16 ปี เล็งเห็นปัญหาด้านนี้จึงพยายามร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเรื่องความตระหนักถึงภัยคุกคาม รวมทั้งการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบ”

“แม้เป้าหมายของการโจมตีอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ผลกระทบกลับไม่ลดลงการป้องกัน เฝ้าระวัง และ ตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างทันท่วงทีก็จะช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ NT cyfence เลยพยายามพัฒนาบริการให้มีความหลากหลายและครบวงจรเพื่อให้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับองค์กรได้”

“นอกจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการ Monitor แล้ว NT cyfence ยังมีการนำเอาระบบ Automation และ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและช่วยในการวิเคราะห์ต้นเหตุของภัยคุกคาม แก้ไข และตอบสนองกับ Event ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกธุรกิจได้ทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายส่วนเรื่องความปลอดภัยเราจะดูแลให้เอง รวมถึง ทางศูนย์ CSOC ได้มีเผยแพร่ข้อมูลสถิติการโจมตีภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นประจำทุกปีเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ มีข้อมูลเพื่อใช้ในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

เจาะ 6 กลุ่มบริการ NT cyfence  ที่ให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจร

1.กลุ่มบริการ ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยสารสนเทศ

เป็นกลุ่มบริการที่ช่วยให้คำปรึกษาในการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ISO 22301, ISO/IEC 27001, ISO/IEC 27701 และ ISO/IEC 20000 รวมถึงให้คำปรึกษาด้านการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 และการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการจัดตั้งศูนย์ CSOC (Cybersecurity Operations Center) เป็นของหน่วยงานเอง

2. กลุ่มบริการ ด้านจัดหาระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจร

เป็นกลุ่มบริการที่ช่วยจัดหาระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์  โดยจะจัดหาอุปกรณ์ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ  ทั้งอุปกรณ์ป้องกันภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบกล้อง CCTV จากทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบด้านความปลอดภัยมาอย่างยาวนาน

3.กลุ่มบริการ ด้านการป้องกันภัยคุกคามสารสนเทศ

เป็นกลุ่มบริการที่เน้นการป้องกันภัยไซเบอร์ประเภทต่าง ๆ เช่น DDoS Virus และ Ransomware เป็นต้น โดย มีบริการที่ครอบคลุมในเกือบทุกภัยคุกคามไม่ว่าจะเป็น DDoS Protection (ป้องกัน DDoS), Web Application Firewal : WAF (บริการการป้องกัน Web Application) , บริการ Secure Log Management (บริการบริหารจัดการล็อกไฟล์) , บริการ All@secure (บริการอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยการใช้งานอินเทอร์เน็ต) , บริการ Data Protection (ระบบป้องกันข้อมูลในรูปแบบ Private Cloud Security) เป็นต้น

4.กลุ่มบริการ ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยสารสนเทศขั้นสูง

เป็นกลุ่มบริการให้บริการโดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญจาก NT cyfence ในการวิเคราะห์ช่องโหว่ของระบบ หรือสืบค้นหลักฐานทางดิจิทัล เช่น บริการ Vulnerability Assessment (บริการตรวจสอบช่องโหว่ของระบบ) Penetration test  (บริการทดสอบการบุกรุกระบบ) , บริการ Threat Hunting (บริการตามล่าภัยคุกคามเพื่อการป้องกันเชิงรุก) และ บริการ Forensics (บริการสืบค้นหลักฐานทางดิจิทัล) เป็นต้น

5. กลุ่มบริการ ดูแลและบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

เป็นกลุ่มบริการเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์ ผ่านศูนย์ Cybersecurity Operations Center ของ NT cyfence ที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 27001 แห่งแรกของประเทศไทย โดยจะทำการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงยังมีบริการ Physical Analytics เป็นการตรวจจับความผิดปกติด้วยระบบ AI ผ่านกล้อง CCTV  เช่น ระบบตรวจจับและอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์ , ระบบตรวจจับและจดจำใบหน้า และ ระบบตรวจจับพฤติกรรมของคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ

6. กลุ่มบริการ ที่ให้บริการด้านการอบรมในเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศ

กลุ่มบริการส่วนสุดท้ายคือการอบรมด้านความปลอดภัยสารสนเทศ สำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ต้องการให้พนักงานขององค์กรเข้าใจ และมีทักษะในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

คุณกัณณิกา ยังกล่าวอีกด้วยว่า “NT cyfence ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากหลายภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคการเงินการธนาคาร และสาธารณสุข แต่ถึงกระนั้นทีมงานของเราก็ยังไม่หยุดพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาและนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเฝ้าระวัง  และให้บริการ การดำเนินงานตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย ต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาทีมงานให้มีความรู้ความสามารถผ่านการอบรม โดยได้รับการยืนยันโดยการมี Certificate ด้านต่าง ๆ เช่น Security +, CCNA, CCNP, CEH, CHFI, OSSA, OPST และ CISSP เป็นต้น เพื่อที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ เพราะมีความเชื่อว่า ความปลอดภัยมีความหมายสูงสุด” 

สำหรับผู้ที่มองหาบริการด้าน Cybersecurity สามารถติดต่อทีมงานของ NT cyfence ในการเข้าไปนำเสนอบริการได้ที่ www.cyfence.com/contact-us หรือโทร NT contact center 1888 

ที่มา: gartner

บทความที่เกี่ยวข้อง